ตำนานว่าวไทย
ในสมัยโบราณ ว่าวไม่ได้มีเพียงการเล่นเพื่อความสนุกสนาน เท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย
>> สมัยกรุงสุโขทัย(พ.ศ.๑๗๘๑-๑๙๘๑) <<
ยุคสมัยของพ่อกรุงศรีอินทราทิตย์ (หรือพระร่วง) โปรดการเล่นว่าวมาก จนมีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งว่าวของพระองค์สายป่านขาดลอยไป ตกที่หลังคาบ้านพระยาเอื้อ ด้วยความเสียดายว่าวพระองค์ถึง กับลงทุนปลอมตัวเป็นสามัญชน ปีนกำแพงวังออกไปเก็บว่าว ในเวลากลางคืน แต่แทนที่จะได้ว่าวก็กลับไปพบรักกับลูกสาว บ้านดังกล่าว กลายเป็นตำนานรักอีกบทหนึ่งที่สุดแสนจะโรแมนติก
ว่าวที่รู้จักกันมาก ได้แก่ "ว่าวหง่าว" หรือ”ว่าวดุ๋ยดุ่ย” ซึ่งจะใช้ชักขึ้นในพิธี "แคลง" ทุกหนทุกแห่ง เป็นความเชื่อของประชาชนในสมัยนั้นว่าเพื่อเป็นการเรียกลมหรือความโชคดีให้เกิดขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า "ว่าวหง่าว" เป็นว่าวที่เก่าแก่ที่สุดของไทย
>> สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐) <<
คำว่า “ว่าวจุฬา" ปรากฏชื่อขึ้นในสมัยนี้ และในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ว่าวมิได้ใช้เฉพาะเพื่อความสนุกเท่านั้น แต่มีการใช้ว่าวในการสงคราม คือตอนที่พระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นกบฎ พระเพทราชาจึงสั่งกองทัพไปปราบกบฎครั้งแรกแต่ไม่สำเร็จ ครั้งที่ 2 แม่ทัพจึงคิดอุบายเผาเมืองกบฎ โดยได้นำว่าวจุฬาขึ้นและผูกหม้อกระสุนดินดำผูกสายป่านว่าวจุฬา โดยใช้ชนวนถ่วงเวลา และชักให้ข้ามไปในแดนของฝ่ายตรงข้าม เมื่อว่าวตกลงสู่พื้นดิน หม้อดินดำก็ระเบิดไหม้บ้านเมืองกบฎจนหมดสิ้น จากประวัติศาสตร์ตอนนี้ปรากฏชื่อว่าวจุฬาเป็นครั้งแรก
และยุคสมัยแผ่นดินของพระพุทธเจ้าเสือ ซึ่งโปรดการชกมวย แล้วยังโปรดการเล่นว่าวและคว้าจุฬาปักเป้ากับ ข้าราชบริพารเสมอๆ คำว่า "ว่าวปักเป้า" จึงเป็นว่าวอีกชนิดหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในสมัยนี้และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายตั้งแต่นั้นมา
การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าเกิดขึ้นในสมัยนี้ โดยพระมหากษัตริย์จะทรงเป็นฝ่ายทรงว่าวจุฬา และมีกฎ มณเฑียรบาลว่าห้ามมิให้ผู้ใดเล่นว่าวข้ามพระราชวังอันเนื่อง มาจากทรงเกรงว่า ว่าวที่ใช้เล่นกันจะไปเกี่ยวหรือทำความเสีย หายให้แก่สิ่งก่อสร้างในพระราชวัง แต่ถ้าใครเล่นว่าวปักเป้า หลงเข้ามาในเขตของพระองค์ ก็จะถูกคว้าลงมาอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้เกิดเป็นเกมการพนันขันต่อเรื่องว่าวนับตั้งแต่บัดนั้น ในจดหมายเหตุของ มองซิเออร์ ลาลูแบร์ อัครราชทูต ของพระเจ้าหลุยที่ 14 กรุงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เคยเขียนถึงการเล่น ว่าวของไทยว่า “เป็นที่นิยมในหมู่เจ้านายและขุนนาง “ว่าว ของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม” ปรากฏในท้องฟ้าตลอดระยะ เวลา 2 เดือน ของฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอย ผลัดเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้ และในขณะที่สมเด็จพระ นารายณ์ประทับอยู่นั้น ในเวลากลางคืน รอบพระราชนิเวศน์ จะมีว่าวรูปต่าง ๆ ลอยอยู่ ว่าวนี้ติดโคมไฟส่องสว่าง และลูก กระพรวนส่งเสียงกรุ๋งกริ๋ง
>> สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ <<
ในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. ๑2394-2111) ทรงมีพระบรมราชานุญาติให้ประชาชนเล่นว่าว ได้ที่ท้องสนามหลวง ปรากฏหลักฐานเป็นภาพจิตรกรรมฝา ผนังที่วัดราชประดิษฐ์มหาสีมารามราชวรวิหาร ซึ่งเป็นวัด สำคัญในรัชกาลที่ 4 และเริ่มมีการจัดการแข่งขันว่าวจุฬา-ปักเป้า ชิงถ้วยทองคำพระราชทานที่พระราชวังสวนดุสิต
ในรัชกาลที่ 5 การเล่นว่าวยังคงเป็นการละเล่นและกีฬาที่นิยมโดยเฉพาะในราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการแข่งขันว่าวจุฬา-ปักเป้ามาก โดยมักจัดการแข่งขันกลางแจ้ง (ณ ท้องสนามหลวงในปัจจุบัน) เป็นที่สนุกสนานเมื่อเวลาที่ว่าวสายใดชนะพระองค์ ก็ทรงโปรดพระราชทานถ้วยรางวัลให้การแข่งขันเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้นมา โดยพระองค์เสด็จเป็นองค์ประธานในการแข่งขันเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์
จัดได้ว่าว่าวจุฬา-ปักเป้า เป็นว่าวเอกลักษณ์ของชาติไทยชาติเดียวเท่านั้นที่สามารถนำมาเล่นใช้ต่อสู้กันได้รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนกีฬาเล่นว่าว มีการประกวดและแข่งขันว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า โดยมีกติกาการแข่งขันเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้การแข่งขันยุติธรรมและสนุกสนาน สถานที่เล่นว่าวในเขตกรุงเทพมหานครที่เป็นที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน คือ ท้องสนามหลวง
ในรัชกาลที่ 6 ต่อมา ในสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนให้จัดตั้งสมาคมกีฬาว่าว เมื่อ พ.ศ. 2469 และ มีการเขียนตำราว่าวพนัน ตำราผูกว่าว วิธีชักว่าวและการเล่น ว่าวต่อสู้กันในอากาศ ของพระยาภิรมย์ภักดี ต้นตระกูลภิรมย์ ภักดีเจ้าของโรงเบียร์รายแรกในสยาม ผู้ชำนาญการเรื่องว่าวไทย และเป็นนายสนามแข่งว่าว
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านเรือนพัฒนาไปเป็นตึก อาคารต่าง ๆ ว่าวกลายเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาเพราะบางครั้งก็ ลอยไปติดสายไฟ จนมีคนถูกไฟดูดตายประกอบกับคนที่มี ภูมิปัญญาด้านการทำว่าวเริ่มลดน้อยลง ทำให้การเล่นว่าวที่ อยู่คู่กับคนไทยมาไม่ต่ำกว่า 700 ปี เริ่มเสื่อมความนิยมลงไป กลายเป็นการละเล่นตามฤดูกาล และอาจมีให้พบเห็นได้ใน “งานประเพณีว่าวไทย” ณ ท้องสนามหลวง เพียงปีละครั้งเท่านั้น
>> ปัจจุบัน <<
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2526 ได้มีหน่วยงานราชการและเอกชนร่วมกันจัดงาน "มหกรรมว่าวไทย" ณ บริเวณท้องสนามหลวง มีการประกวดว่าวชนิดต่าง ๆ มากมาย ทั้งว่าวแผง ว่าวประเภทสวยงาม ประเภทความคิด และว่าวตลกขบขัน โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในงานนี้ด้วย และในปี พ.ศ.2527 กรุงเทพมหานครได้จัด "งานประเพณีว่าวไทย" ณ ท้องสนามหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็เสด็จฯ เป็นองค์ประธานอีกครั้ง