top of page
%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8

ประเภทการทำว่าวไทย

การทำว่าวจากภูมิปัญญาของคนไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน มีอยู่ 5 ประเภท ได้แก่

โดยการใช้ใบตองตึงเป็นวัสดุในการทำตัวว่าว ใบตองตึงไม่ใช่ใบกล้วยเป็นใบไม้ ในอดีตทางภาคอีสานใช้ห่ออาหาร ลักษณะเป็นใบใหญ่ ๆ นำมาตากแห้งหรือใบไม้อื่น ๆ เช่น ใบกระบอก ใบยางแดง ใบมะม่วงหิมพานต์ หรือใบไม้ต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่ เป็นการทำว่าวลักษณะง่าย นำใบไม้มาต่อเชือกติดหาง ซึ่งเด็ก ๆ ในชนบทภาคต่าง ๆ นิยมนำมาทำเล่นเรียกว่า ว่าวใบไม้

ว่าวใบไม้.JPG

1. การทำว่าวจากวัสดุธรรมชาติ

ขั้นตอนวิธีทำเริ่มจากการตัดกระดาษทำว่าวตามแบบ ติดกระดาษทำว่าวเข้ากับโครงว่าวที่ทำจากไม้ไผ่ ผูกซุงต่อเชือกต่อหางหรือไม่มีหางก็ได้ การทำว่าวประเภทนี้จะมีการทำแบบ การขึ้นโครง การวัดตัดที่มีสัดส่วนสมดุล เช่น ว่าวประทุน หรือว่าวกระป๋อง ว่าวอีลุ้มเป็นว่าวไม่มีหาง แต่ถ้ามีหางจะเรียกว่าว่าวปักเป้า ว่าวหัวฉีก ว่าวปลา ว่าวปลาปีกแอ่น ฯลฯ

chay66_edited.jpg

2. การทำว่าวจากกระดาษธรรมดา หรือกระดาษทำว่าว

โดยทั่วไป ว่าลักษณะนี้มักมีการติดอุปกรณ์เสริม ทำให้เกิดเสียงขณะที่นำว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้า เรียกว่า แอก หรือสะนู หรือธนู ซึ่งทำจากไม้ไผ่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอก ส่วนกลางกลวง นำมาติดเข้ากับโครงว่าวบริเวณส่วนหัวของว่าว เมื่อว่าวกินลมบนท้องฟ้าจะมีเสียงดังแอก ๆ เสียงจะยาวหรือสั้น ดังหรือเบาขึ้นอยู่กับเทคนิคการทำแอก เช่น ว่าวควาย ว่าวนกปีกหมอน ว่าวนกปีกแอ่น ว่าววงเดือน หรือที่ประเทศมาเลเซียเรียกว่า ว่าวบูรันบูแล

hqdefault%20(1)_edited.jpg

3. การทำว่าวที่มีลักษณะซับซ้อนมากกว่าประเภทที่ 2

เช่น เครื่องลาง ของขลัง การทำว่าวรูปผี และการเล่นว่าวผีมีลักษณะไม่แตกต่างกับการเล่นว่าวชนิดอื่น ๆ แต่แฝงด้วยความเชื่อ เมื่อนำว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้า หากว่าวปลิวขาด ตกบนหลังคาบ้านหรือบริเวณบ้านใคร บ้านหลังนั้นต้องนิมนต์พระมาสวด หรือทำบุญให้ครบ 7 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าโชคร้ายหรือจะมีเรื่องไม่ดีเข้ามาสู่บ้าน ลักษณะของว่าวผี ส่วนหัวเป็นหน้าผีแลบลิ้นยาว พุงโตเหมือนหนังตะลุง มีแขนมีขา เอกลักษณ์ของว่าวชนิดนี้ มีความน่ากลัว และติดแอกเพื่อทำให้เกิดเสียงดังเมื่ออยู่บนท้องฟ้า

maxresdefault (1).jpg

4. การทำว่าวในลักษณะแฝงความเชื่อ

wb0310_t988_r18465.jpg

ทำให้ว่าวมีความสวยงาม และมีรูปร่างแปลก เช่น ว่าวแมลงปอ ว่าวงู ว่าวสิงห์ของบริษัทบุญรอด

5. การทำว่าวที่มีการออกแบบตกแต่งพิเศษ

การทำว่าว

การทำว่าวแต่ละตัว จะเป็นว่าวประเภทใด และขนาดใด ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ คือ

 

วัสดุอุปกรณ์

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำว่าว ได้แก่ ไม้ไผ่ กระดาษสาบาง หรือผ้าเนื้อบาง เชือกป่าน กาวแป้งเปียก มีดเหลาไม้ไผ่ กรรไกรตัดกระดาษ พู่กันและสี ไม้ไผ่ที่ใช้ทำโครงว่าวจัดว่าเป็นวัสดุสำคัญ ควรเลือกใช้ไม้ไผ่สีสุก เพราะเป็นไม้ที่มีเนื้อหยุ่นเหนียว ไม่หักง่าย และสามารถตัดแต่งประกอบเป็นโครงว่าวรูปทรงต่างๆ ได้ดี

วิธีการผูกว่าว

การผูกว่าว เริ่มจากการเหลาไม้ไผ่ให้ตรงได้ขนาดและลักษณะ ตามที่ต้องการ เพื่อขึ้นรูปโครงว่าว ที่สำคัญคือ ไม้อก ซึ่งเป็นแกนหลักของโครงว่าว หากไม้ไผ่คด ให้นำมาอิงกับเตา หรือใช้ไฟลน แล้วทาด้วยน้ำตาลปี๊บ ใช้ไม้หน้าสามทำเป็นตะขอ คอยดัดให้ไม้ตรง นอกจากไม้อกแล้วยังมีไม้ปีกว่าวที่ตัดเป็นรูปทรงต่างๆ จากนั้น จึงนำโครงว่าวมาผูกเป็นตัวว่าวตามที่ออกแบบไว้ แล้วติดกระดาษให้ตึง การติดกระดาษควรทำในตอนกลางคืน หรือตอนเช้า เพราะอากาศไม่ร้อนจัด เพื่อป้องกันการขยายตัวของกระดาษ สุดท้ายจึงระบายสีสันบนตัวว่าวให้สวยงาม

>> ก. การผูกสายซุงว่าวแผง <<

สายซุงเป็นสายป่าน ๒ สายที่ผูกติดกับไม้อกว่าว ๒ จุดเป็นรูปสามเหลี่ยม เพื่อนำมาต่อกับสายว่าวอีกทีหนึ่ง สายซุงมีประโยชน์ ช่วยประคองตัวว่าวให้ต้านลมได้ดี ไม่เสียการทรงตัว ผู้ที่ฝึกเล่นว่าวครั้งแรกควรใช้ว่าวที่ผูกสายซุงเท่ากัน ว่าวจึงจะขึ้นตรง และหน้าแหงน ทำให้ว่าวลอยนิ่งบังคับง่าย เมื่อเล่นว่าวจนชำนาญแล้ว ก็อาจเปลี่ยนวิธีผูกสายซุงแบบกินหน้า เพื่อให้ว่าวขึ้นผงาด และโฉบพลิกแพลงไปมา การผูกสายซุงถ้าผูกกินหน้ามากไป อาจทำให้ว่าวเสียหลักเรียกว่า ว่าวแฉลบ หัวปักดินได้

>> ข. การผูกสายซุงว่าวภาพ << 

การผูกสายซุงว่าวภาพเป็นการผูกสายซุงว่าวอีกลักษณะหนึ่ง โดยใช้เชือกคอซุงจำนวน ๘-๑๐ เส้น ผูกให้ว่าวเอียง ๖๐ องศา ว่าวจะขึ้นในลักษณะเหมือนเครื่องบิน โดยลมจะดันด้านล่างให้ปะทะกับแผงว่าว ทำให้ว่าวสามารถขึ้นได้

bottom of page